วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สังคมก้มหน้า คืออะไร ?



  ศัพท์บัญญัติใหม่ ในโลกออนไลน์ชื่อ “สังคมก้มหน้า
       เพราะปัจจุบันนี้ ยุคที่คนเรามีสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตกันอย่างน้อยคนละ 1 เครื่อง หรืออาจมากกว่า 1 เครื่อง ทำให้ คนเราไม่ค่อยใส่ใจคนรอบข้าง หรือแม้แต่ใจลอยเพราะว่าถูกสิ่งเร้าจากเนื้อหาในจอสมาร์ทโฟน หรือว่าแท็บเล็ต จนลืมรอบข้าง 
        ที่น่ากลัวคือ แม้แต่เวลาข้ามถนนหรืออยู่กลางถนน ก็ยังจ้องมองไปที่จอภาพ มากกว่าที่จะระมัดระวังตัวจากภยันตรายรอบข้าง บางทีได้รับสัญญาณก็ไม่รับรู้ เพราะ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ปฏิสัมพันธ์ที่อยู่บนโลกไซเบอร์ ไม่ใช่ปฏิสัมพันธ์กับโลกแห่งความเป็นจริง หรือไม่ได้อยู่กับสติ เป็นปราการด่านสำคัญในการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบตัวสักเท่าไหร่แล้ว
    

ผลกระทบ
          1)  มีผลทำให้เราใจร้อน คาดหวังผลเร็วขึ้น อารมณ์หงุดหงิดง่าย 
          แต่เดิมในยุคที่เราสื่อสารด้วยการ ส่งจดหมายติดแสตมป์ต้องใช้เวลาเป็นหลักวัน กว่าที่จะสื่อสารกันได้หากว่าเป็นข้ามทวีปด้วยแล้วเป็นหลักสัปดาห์ทีเดียว
          แต่ปัจจุบันส่งอีเมลข้ามทวีปไปแล้วหากมองนาฬิกาแล้วคิดว่า อีกฝ่ายน่าจะต้องตื่นแล้ว และไม่ตอบมาในทันที อีกฝ่ายก็รู้สึกขุ่นมัวแล้วว่าอีกฝ่ายหายไปไหน ทำไมไม่ตอบ เพราะมีสมมุติฐานเบื้องต้นว่า โลกหมุนเร็วแล้วทุกคนต้องเร็วเท่ากัน พอเกิดความคาดหวังแล้วไม่สมหวัง ก็เกิดอารมณ์ขุ่นมัว และบ่อย ๆ ครั้งก็ไม่รู้ว่า นั่นคือการเกิดโทสะขึ้นมาแล้ว เก็บความคับข้องใจกลายเป็นอารมณ์ต่อไปอีก

          2) ขาดสติ ขาดความรู้ตัวทั่วพร้อม จนอาจจะก่อเกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น 
          นอกเหนือไปจากนี้ การที่สังคมเราเป็น สังคมก้มหน้า ใจลอย จิตไปจดจ่ออยู่กับเนื้อหา คอนเทนต์ บนหน้าจอสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต จนไม่เหลือปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก ทั้ง ๆ ที่บางทีอยู่ในภาวะที่จำเป็นต้องระมัดระวังตัว เช่น การข้ามถนน หรือขับรถอยู่บนทางด่วน นั้นเป็นสิ่งที่สะท้อนจิตใจแบบใด ความรู้ตัวทั่วพร้อม ยังอยู่ครบดีหรือไม่ หรือว่าจิตใจเราลอยไปอยู่กับสิ่งอื่นและไม่สามารถที่จะควบคุมด้วยตนเองได้อีกต่อไปแล้ว 
          แน่นอนว่าเทคโนโลยีต่าง ๆ มีคุณูปการต่อการผลักดันโลกไปข้างหน้า แต่การใช้และปล่อยให้ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ แอพพลิเคชั่น ต่าง ๆ มามีอิทธิพลเหนือ ฮิวแมนแวร์ หรือมนุษย์ผู้มีศักยภาพในการควบคุมจิตใจตนและใช้จิตใจอันหนักแน่นและมีทิศทางของตนในการใช้ประโยชน์สิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมา ที่สุดแล้วเราก็กลายเป็นเพียงทาสของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เพื่อนมนุษย์เราผลิตขึ้นมา แทนที่เราจะเป็นนาย เราจะกลายเป็นบ่าวไปสมบูรณ์แบบ

เพิ่มการสบตากับผู้อื่น
          การวิเคราะห์ของบริษัท Quantified Impressions ระบุว่าคนเรามักสบตากัน 30 - 60 % ของเวลาที่ใช้ในการสนทนา แต่ข้อแนะนำคือ ควรเพิ่มการสบตาให้มากขึ้นเป็น 60 - 70 % เพื่อสร้างความรู้สึกเชื่อมต่อด้านอารมณ์หรืออารมณ์ร่วมให้เกิดขึ้น แต่ปัญหาหนึ่งของเรื่องนี้คือการมีอุปกรณ์มือถือใช้งานและการทำงานหลายอย่างไปพร้อมๆ กัน โดยเฉพาะในคนกลุ่มหนุ่มสาวในสังคมก้มหน้า ซึ่งทำให้ต้องใช้สายตาจับที่หน้าจอแทนที่จะสบตากับคู่สนทนา
         อย่างไรก็ตามนักจิตวิทยาเตือนว่าการก้มหน้าลงตรวจอุปกรณ์มือถืออยู่เป็นประจำอาจเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่า บุคคลนั้นไม่พอใจกับชีวิตหรือความสัมพันธ์ที่ตนมีอยู่ กับผู้อื่น ทำให้ต้องคอยตรวจสอบความเคลื่อนไหวในเครือข่ายของตนอยู่เป็นประจำเพื่อดูว่าตนได้พลาดโอกาสทางสังคมเรื่องใดไปบ้าง
          ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า การสบตากับผู้อื่นระหว่างการสนทนาช่วยแสดงถึงความมั่นใจและการให้ความเคารพต่อผู้อื่น และการสบตาจะให้ผลดีที่สุดหากใช้เวลานานราว 7-10 วินาทีกับคู่สนทนาแบบตัวต่อตัว และ 3-5 วินาทีสำหรับการสนทนาแบบเป็นกลุ่ม

ปัญหาวัยรุ่นติด LINE หนัก หวั่นเป็นสังคมก้มหน้า 
           สธ. ห่วงวัยรุ่นติดไลน์ขั้นหนัก ชี้ทำพฤติกรรมแข็งกระด้าง หวั่นเป็นสังคมก้มหน้า พบร้อยละ 51 ตื่นนอนเล่นทันที
           นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ตนรู้สึกห่วงใยถึงพฤติกรรมคนไทยในการใช้โทรศัพท์มือถือในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะแอพพลิเคชั่นไลน์ (LINE) ที่นิยมใช้สื่อสารพูดคุยอย่างมาก
            ล่าสุดผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ 2555 พบว่า ในกลุ่มประชาชนอายุ 6 ปีขึ้นไป ใช้โทรศัพท์มือถือจำนวน 44 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 70 ของประชากรทั้งหมด และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในเขต กทม. โดยผลสำรวจระบุว่า
           เขต กทม. มีการใช้มากที่สุดถึงร้อยละ 84
           ภาคกลางร้อยละ 75 
           ภาคเหนือร้อยละ 68 
           ภาคใต้ร้อยละ 67 
           ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 64

ข้อดี - ข้อเสียการใช้ LINE
ผลดี : อาจจะสร้างความสะดวกในการสื่อสาร สามารถส่งได้ทั้งภาพและเสียง อีกทั้งประหยัดไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์  
ผลเสีย : ในปัจจุบันเด็กและเยาวชนที่ยังไม่มีวุฒิภาวะ และผู้ปกครองไม่ชี้แนะ หรือควบคุมการใช้งานอย่างจริงจัง ก็จะส่งผลกระทบทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต
       โดยเฉพาะพฤติกรรมก้มหน้า สังคมก้มหน้า ซึ่งจะทำให้การสื่อสารแบบเผชิญหน้าลดน้องลง และอาจจะเป็นนิสัยที่ติดต่อต่อไป
       ในส่วนของผู้ใหญ่ก็มีผลกระทบเช่นกัน ซึ่งหากผู้ใช้อยู่ในโลกส่วนตัวมากเกินไป ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง หรือขาดความระมัดระวัง ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาอุบัติเหตุหรือจราจรเพิ่มขึ้น
       ขณะที่ นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า แอพพลิเคชั่นไลน์ที่เด็กนิยมเล่นกันนั้น บางคนเล่นทุกวัน จนทำให้เด็กสูญเสียการใช้ชีวิตประจำวันที่ควรจะเป็น เช่นเรื่องสัมพันธภาพ การวางตัว ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นพัฒนาการที่สำคัญของวัยรุ่น และการเล่นจนติดเป็นนิสัยนั้น จะทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่แข็งกระด้าง

หนทางป้องกัน - แก้ไข เด็กติด LINE
        ล่าสุดพบว่า วัยรุ่นร้อยละ 51 ตื่นมาเล่นทันที อีกร้อยละ 35 เล่นก่อนนอนทุกวัน   เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วผู้ปกครองควรวางกติกาการเล่นให้กับเด็ก ทั้งกำหนดเวลาในการเล่น ไม่ให้มีการใช้โทรศัพท์ในช่วงเวลาไม่เหมาะสม




วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

2 ท่าเช็กอาการติดโทรศัพท์ เป็นสมาร์ทโฟนแอดดิกหรือเปล่าได้รู้กัน !


         ติดสมาร์ทโฟน มากเกินไปไหม เช็กง่าย ๆ ด้วย 2 ท่าสุดง่าย ถ้ามีอาการเหล่านี้บอกเลยระวังให้ดี 

     
     ทุกวันนี้เชื่อว่าคงมีคนจำนวนไม่น้อยที่มีสมาร์ทโฟนเสมือนเป็นอวัยวะที่ 33 ไม่ว่าจะไปไหนมาไหน ถ้าไม่มีสมาร์ทโฟนติดไปด้วยก็รู้สึกแปลก ๆ บางคนนี่ถึงกับกระวนกระวายเลยก็ว่าได้ แต่พอถามว่าตัวเองติดสมาร์ทโฟนไหมก็มักจะบอกไม่ได้ติด อย่าเพิ่งชะล่าใจว่าตัวเองไม่ใช่คนจำพวก สมาร์ทโฟน แอดดิก (Smartphone Addict) นะ ถ้ายังไม่ได้ลองทดสอบตัวเองด้วยท่าทางเหล่านี้ที่เราหยิบมาฝากกัน ซึ่งบอกได้คำเดียวเลยว่า แค่ทำตามที่ว่านี้ก็จะรู้ได้ทันทีว่าคุณน่ะใช่คนติดสมาร์ทโฟนหรือไม่ รีบทำตามเลยจะได้รู้กันครับ

 ท่าที่



       
   ท่านี้เป็นท่าง่าย ๆ ที่เราแค่เพียงสังเกตมือของเราก็จะทราบได้ทันทีว่าเราเป็นคนติดสมาร์ทโฟนหรือเปล่า ซึ่งอาการนี้เรียกว่า Smartphone Pinky โดยมีวิธีสังเกตง่าย ๆ คือ กางมือออก ถ้าหากนิ้วก้อยของคุณมีลักษณะงอที่บริเวณข้อที่ 2 ของนิ้วก้อย แปลว่าคุณน่ะเป็นคนติดสมาร์ทโฟนแล้วล่ะ เพราะอาการงอของนิ้วก้อยแบบนี้ เป็นอาการที่เกิดจากการที่เราถือสมาร์ทโฟนเป็นเวลานาน โดยปกติแล้วเมื่อเราถือโทรศัพท์มือถือก็จะต้องเอานิ้วก้อยรองที่ใต้โทรศัพท์ และเมื่อนิ้วก้อยต้องรองรับน้ำหนักมาก ๆ ก็อาจจะทำให้เกิดอาการงอของนิ้วได้ค่ะ ซึ่งในเริ่มแรกจะไม่มีอาการปวดหรือเจ็บ แต่ถ้าทิ้งเอาไว้นาน ๆ คุณหมอแมว เจ้าของเพจเฟซบุ๊กความรู้สนุก ๆ แบบหมอแมว  ก็เตือนว่าจะมีอาการแบบนี้ครับ

         
-  มีอาการเจ็บที่นิ้วก้อยด้านในที่บริเวณข้อสุดท้าย และถ้าหากกดมาก ๆ จะทำให้นิ้วดูเบี้ยวเล็กน้อย

         
-  เกิดอาการปวดล้าข้อนิ้วก้อย เวลากำเหยียดนิ้วก้อยจะรู้สึกเจ็บ

         
-  หากมีอาการรุนแรงอาจจะเกิดอาการชาที่ปลายนิ้วก้อยด้านใน เนื่องจากไปโดนบริเวณที่เกิดการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็น

          ทั้งนี้ถ้าหากมีอาการเหล่านี้เป็นเวลานานก็ควรไปพบแพทย์ดีกว่าครับ เพราะอาจจะไม่ใช่แค่อาการ Smartphone Pinky แต่อาจจะมีอาการอักเสบของปลายประสาทเรื้อรังจนอาจเป็นอันตรายได้ครับ
 ท่าที่ 2  
ภาพจาก meddic.jp


          วิธีการทดสอบนี้มีชื่อเรียกว่า Eichoff’s Test หรือ Finkelstein's test เป็นวิธีทดสอบว่าเป็น โรคเดอ เกอร์แวง (De Quervain's Disease) หรือปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ หรือไม่ อาการของโรคนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีการใช้นิ้วโป้งมากจนเกินไป อย่างเช่นการเล่นโทรศัพท์สมาร์ทโฟนติดต่อกันนาน ๆ เป็นประจำ จนทำให้เกิดการปวดอักเสบบริเวณข้อมือ วิธีทดสอบมีดังนี้ครับ

         
 - กำมือโดยให้ทั้ง 4 นิ้วกำนิ้วโป้งไว้ให้แน่น

         
 - งอข้อมือลงด้านล่างจนบริเวณตั้งแต่ข้อมือจนถึงข้อนิ้วโป้งตึง

         
 - หากมีอาการปวดนั่นแปลว่าคุณมีอาการของโรค De Quervain’s Disease

         อาการของโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับมือทั้ง 2 ข้าง แต่อาการเจ็บปวดนี้จะขึ้นอยู่กับว่าใช้มือข้างใดถือโทรศัพท์มากกว่ากันค่ะ

         
 หากรู้ว่าตัวเองมีอาการปวด อันเป็นจุดเริ่มต้นของอาการปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบแล้ว ต้องเริ่มบริหารมือตัวเองเดี๋ยวนี้เลย ซึ่งเรามีท่าง่าย ๆ มาบอกกัน

         
  1. แตะปลายนิ้วหัวแม่มือกับปลายนิ้วชี้ค้างไว้ 5 วินาที แล้วจึงใช้นิ้วหัวแม่มือสลับแตะนิ้วก้อยค้างไว้อีก 5 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง

         
  2. ดัดข้อมือ โดยพยายามงอข้อมือตัวเองลงให้มากที่สุด ค้างไว้ 5 วินาที จากนั้นให้ดัดข้อมือกระดกขึ้นให้มากที่สุด ค้างไว้อีก 5 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง

         
  3. หงายมือขึ้น แล้วกำมือ จากนั้นค่อย ๆ กระดกข้อมือขึ้น ค้างไว้ 5 วินาที แล้วค่อยกลับไปตำแหน่งเดิม ทำซ้ำ 10 ครั้ง

         
  4. กระดกข้อมือขึ้น-ลง สลับกัน 10 ครั้ง (สามารถถือวัตถุที่มีน้ำหนักมากไว้ในมือด้วยได้) 

         
  5. กระดกข้อมือเอียงไปทางด้านข้าง ทำขึ้น-ลง สลับกัน 10 ครั้ง (สามารถถือวัตถุที่มีน้ำหนักมากไว้ในมือด้วยได้) 

         
  6. นำลูกบอลยางมาบีบ โดยบีบให้แน่นที่สุด ค้างไว้ 5 วินาที จากนั้นคลายออก แล้วบีบใหม่ ทำซ้ำ 10 ครั้ง

         
 ได้วิธีสังเกตอาการติดโทรศัพท์แบบง่าย ๆ ไปแล้ว ถ้ามีอาการเหล่านี้ก็อย่านิ่งนอนใจเลยนะ เพราะอาการเหล่านี้ที่เห็นว่าเล็ก ๆ น้อย ๆ อาจจะให้ผลตามมาที่คาดไม่ถึงก็ได้ ยังไงสมาร์ทโฟนก็ไม่น่าจะสำคัญกว่าสุขภาพของตัวเองใช่ไหมล่ะครับ


ค่านิยมอันตรายจากสมาร์ทโฟน

          
                  "ในยุคนี้ สมาร์ทโฟนถือเป็นเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์คนในยุคดิจิตอลมากที่สุด เพราะสามารถใช้งานได้หลากหลาย เรียกได้ว่า "เครื่องเดียวตอบโจทย์ทุกความต้องการของผู้ใช้งาน" และไม่ว่าจะเดินไปทางไหนก็จะเห็นคนก้มหน้าก้มตาเล่นสมาร์ทโฟนกันอยู่ประปราย และเหมือนจะเพิ่มมากขึ้นทุกวัน จนเกิดเป็นค่านิยมของคนยุคดิจอตอล หรือเรียกค่านิยมนี้ว่า "สังคมก้มหน้า"การใช้สมาร์ทโฟนตลอดเวลา อาจทำให้การรับรู้ภายนอกของคนเราลดลง โดยทั่วไปสมองของคนเราไม่สามารถแบ่งการทำงานหลายๆอย่างได้ในเวลาเดียวกัน จึงทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองคนเราต่ำลงขณะเล่นสมาร์ทโฟนอยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ทั้งกับตัวเราเองและผู้อื่น
            สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) สังกัดกระทรวงไอซีที รายงานว่า ค่าเฉลี่ยของการใช้อินเตอร์เน็ตและระบบการสื่อสารออนไลน์ต่อสัปดาห์ของคนไทยอยู่ที่ 50.4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ นั่นหมายความว่า คนไทยใช้เวลากับหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟน เฉลี่ยประมาณ 7.2 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ เพราะแสงบนหน้าจอประกอบด้วยแสงสีฟ้า ส่งผลเสียต่อจอประสาทตาโดยตรง อาจทำให้ดวงตาเสื่อมสมรรถภาพ เสี่ยงต่อโรคออฟฟิสซินโดรม และโรคนิ้วล็อคเพราะคุยแชทหรือเล่นสมาร์ทโฟนมากๆอีกด้วยล่าสุดมีคลิปที่เกี่ยวกับค่านิยมคนยุคนี้ และกำลังเป็นที่รับชมกันอยู่บน Youtube ในคลิปแสดงให้เห็นถึงค่านิยมของสังคมในยุคปัจจุบันหรือ สังคมก้มหน้า ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียที่ตามมาอย่างมากมายขอบคุณคลิปจาก


        ถึงแม้การใช้สมาร์ทโฟนจะส่งผลเสียได้มากมายทั้งต่อสุขภาพคนเรา และสังคมทั่วโลก แต่สมาร์ทโฟนก็มีข้อดีอยู่มากมายและมีส่วนช่วยเหลือพัฒนาได้ด้วยอีกเช่นกัน เพียงแค่รู้จักใช้งานให้ถูกหลัก รู้จักแบ่งเวลา และมีสติในการใช้งาน สมาร์ทโฟนก็จะกลายเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สูงสุดและเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเหลือเราได้มากที่สุดเช่นกัน"



วัยรุ่นกับการใช้โทรศัพท์มือถือ


   
          ในปัจจุบันวัยรุ่นมีการใช้จ่ายที่เกินพอโดยเฉพาะเรื่องเครื่องมือสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงไปทุกยุกต์ทุกสมัยซึ่งเป็นความฟุ่มเฟือยเป็นอย่างมาก เมื่อเทียบกับแฟชั่นในสมัยก่อนนั้น ก็จะรวมถึงเสื้อผ้าเครื่องประดับ เครื่องแต่งกายต่าง ๆ แต่ในยุคปัจจุบันนั้น โทรศัพท์มือถือก็ได้เปลี่ยนจากเครื่องมือสื่อสารธรรมดา ๆ มาเป็นของใช้ติดตัวที่เจ้าของนำมาใช้เป็นเครื่องประดับ และสิ่งสนองความต้องการต่าง ๆด้วย เช่นกัน
          โทรศัพท์มือถือนั้นหากจะกล่าวถึงลักษณะการใช้งานเมื่อสิบปีก่อน ไม่นับว่าเป็นสิ่งอำนวยความสะดวก เพราะว่าการใช้งานที่ยังไม่แพร่หลาย และน้อยคนนักที่จะได้มีไว้ในครอบครอง เนื่องจากราคาที่ค่อนข้างสูง และเป็นเทคโนโลยีในยุคแรก ๆ รูปร่างนั้นใหญ่เทอะทะไม่เหมาะกับการพกพาเป็นอย่างยิ่ง แต่ในปัจจุบันนั้น ตรงข้ามกับในอดีตโดยสิ้นเชิง ด้วยรูปร่างที่กะทัดรัด และดีไซน์ที่ทันสมัย อีกทั้ง ราคาที่ถูกลงทั้งค่าเครื่องและค่าบริการ ทำให้ตอนนี้แทบจะทุกคนมีโทรศัพท์มือถือไว้ใช้งาน เดินไปตามข้างถนนก็เห็นเด็กตัวน้อย ๆ มีมือถือใช้  วัยรุ่น หรือวัยเรียนนั้น
          เป็นวัยที่กำลังก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ด้วยโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น และสังคมที่เปิดกว้าง ทำให้วัยรุ่น มีการเปิดรับ และซึมซับวัฒนธรรมต่าง ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ตามความชอบของตนเอง สิ่งที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาว่านักศึกษามหาวิทยาลัยแทบจะทุกคนมีโทรศัพท์มือถือไว้ใช้งานด้วยกันทั้งนั้น แต่จะด้วยความจำเป็น หรือวัตถุประสงค์ในการใช้โทรศัพท์มือถือของแต่ละคนนั้น จะเป็นอย่างไร แต่ที่แน่ ๆ โทรศัพท์มือถือนั้น เข้ามามีอิทธิพล และเป็นปัจจัยที่ห้าของชีวิตของวัยรุ่นวัยเรียนไปแล้ว โดยไม่ว่าจะไปที่ไหน ก็จะมีโทรศัพท์มือถือเครื่องน้อยเป็นเพื่อนติดตัวไปทุกหนทุกแห่ง
          วัตถุประสงค์ของการใช้โทรศัพท์มือถือกับวัยรุ่นนั้นปัจจุบันไม่ใช่แค่เพียงเครื่องมือสื่อสารแต่เพียงอย่างเดียว เท่านั้น จะเห็นได้ว่า บริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือต่าง ๆ ในตอนนี้ ต่างก็แข่งขันกันทำลูกเล่นหรือฟังก์ชั่นใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า เพราะในยุคที่มีการแข่งขันสูง การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาประยุกต์ใช้กับโทรศัพท์มือถือนั้นยิ่งทำให้มีความน่าสนใจมากขึ้น นอกจากจะโทรออก หรือรับสายได้แล้ว ในขณะนี้โทรศัพท์ต้องทำอย่างอื่นได้ เช่น ถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอ ฟังเพลง เล่นเกมส์ที่มีภาพกราฟฟิกที่ดีขึ้น รวมถึงการรับส่งอีเมล์ หรือการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นเพราะวิถีชีวิตของคนเปลี่ยนไป หรือไม่ก็อาจกล่าวได้ว่าตอนนี้เราก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการสื่อสารที่ไร้พรมแดน


         แต่นอกจากลูกเล่นต่าง ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าแล้ว โทรศัพท์มือถือ ในตอนนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่เครื่องใช้ หรือเครื่องมือสื่อสารอีกต่อไป แต่หากเป็นเครื่องประดับ หรือเป็นสิ่งที่จะมายกระดับผู้ใช้ให้ดูดีขึ้น จะเห็นได้ว่า โทรศัพท์ในบางรุ่นนั้น ลูกเล่นหรือฟังก์ชั่นต่าง ๆ ทำอะไรได้ไม่มากแต่ด้วยดีไซน์ที่สวยหรูหรือให้นักออกแบบที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับออกแบบให้ ก็จะทำให้โทรศัพท์มือถือเครื่องนั้น ๆ มีราคาสูงขึ้นมาได้ การที่เป็นเช่นนี้ เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่า โทรศัพท์นั้นเป็นเครื่องประดับดี ๆ ชิ้นหนึ่งนั่นเอง 
          อย่างไรก็ตาม โทรศัพท์มือถือก็ยังเป็นเพียงเครื่องมือสื่อสารที่อำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์ หาได้เป็นเครื่องประดับตามที่นักศึกษาและวัยรุ่นส่วนใหญ่เข้าใจไม่ แต่กลับเป็นสิ่งที่ฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็นสำหรับวัยรุ่นที่ยังไม่มีรายได้ โทรศัพท์บางเครื่องมีราคาสูง แต่ด้วยความต้องการของวัยรุ่นที่เห็นว่าเป็นแฟชั่นอย่างหนึ่ง ซึ่งอยากได้มาครอบครองไว้เพื่อให้ตนนั้นเด่นขึ้นและดูดีเมื่อได้ใช้ แต่โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและไวต่อการตกรุ่น เมื่อมีรุ่นใหม่ออกมาที่สวยกว่ารุ่นเดิม ก็ต้องอยากได้มาครอบครองเพื่อให้ทันสมัย จึงอยากเตือนวัยรุ่นว่าโทรศัพท์เป็นเครื่องมือที่ใช้สื่อสารเพียงเท่านั้นซึงไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องที่สวยและมีราคาแพง ซึ่งยังไม่เหมาะสมกับวัยรุ่นและนักศึกษาที่ยังไม่มีรายได้ ควรใช้เครื่องที่มีคุณสมบัติเพียงพอกับที่ต้องการเท่านั้นก็เพียงพอแค่โทรเข้าโทรออกได้ก็ดีแล้ว


ปัญหาวัยรุ่นติดโทรศัพท์มือถือ

-สาเหตุหลักว่าทำไมวัยรุ่นมีโทรศัพท์มือถือ
            วัยรุ่นใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อที่จะติดต่อพ่อและคุณแม่ในกรณีที่พวกเขาคิดถึงคุณพ่อ คุณแม่หรือต้องการที่ติดต่อกิจธุระต่างๆและเพื่อความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลใดๆ

-สถิติการใช้มือถือของคนไทยในปัจจุบัน
            เปิดเผยการสำรวจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครัวเรือนไทยว่า
ในช่วงปี 2546-2549 ว่า การใช้โทรศัพท์มือถือของคนไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ระหว่างปี 2546-2549 โดยในปี 2549 จำนวนคนไทยใช้โทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นจากปี 2546  เกือบเท่าตัว คือ จากประชากร 100 คน มีโทรศัพท์มือถือ  ใช้ 23 คนในปี 2546 เพิ่มขึ้นเป็น 42 คนในปี 2549
โดยกลุ่มวัยรุ่น มีสัดส่วนผู้ใช้โทรศัพท์เพิ่มขึ้นประมาณเท่าตัว ซึ่งมากกว่าทุกกลุ่มอายุ วัยรุ่นไทยมีและใช้โทรศัพท์มือถือเป็นอันดับ 1ของเอเชีย และทำสถิติพูดคุยผ่านโทรศัพท์มือถือนานถึง 1.7 ชั่วโมงต่อวัน

-วัยรุ่นใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อ ???
            ในการใช้โทรศัพท์มือถือของวัยรุ่น นอกจากใช้ติดต่อสื่อสารแล้วยังใช้บริการอื่นอีก คือ เพื่อส่งข้อความและรูปภาพ มากที่สุด ร้อยละ 50.0   รองลงมาเป็นโหลดเพลง คิดเป็นร้อยละ 46.4 และเล่นเกมอีกร้อยละ 14.8ร้อยละ 4.8 เล่นอินเทอร์เน็ต / แชท วัยรุ่นไทยมีและใช้โทรศัพท์มือถือเป็นอันดับ 1ของเอเชีย และทำสถิติพูดคุยผ่านโทรศัพท์มือถือนานถึง 1.7 ชั่วโมงต่อวัน

-ค่าใช้จ่ายในการใช้มือถือของวัยรุ่น
ค่าใช้จ่ายต่อเดือนเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ คือ
น้อยกว่า 500 บาทร้อยละ 54.6
501 -1,000 บาทร้อยละ 35.1 1
1, 001 -1,500 บาทร้อยละ 7.5
มากกว่า 1,500 บาทร้อยละ 2.8
ขณะที่ความคิดเห็นเกี่ยวกับความจำเป็นของโทรศัพท์มือถือในชีวิตประจำวัน
คือเห็นว่าจำเป็นร้อยละ 87.4  เห็นว่าไม่จำเป็นร้อยละ 12.6

-ผลเสียของการติดโทรศัพท์มือถือ
         1. มีผลให้เรียนตกต่ำ ใจร้อน ขี้เหงา
        2.มือถือทำให้เกิด โรคด่วนได้รอคอยไม่เป็น รออะไรไม่ได้ เพราะมือถือสามารถส่งข้อความสั้นได้ภายในไม่กี่นาที และได้รับคำตอบกลับมารวดเร็ว
        3.ทำให้เกิดโรคเสพติดมือถือ เนื่องจากขาดมือถือไม่ได้ จนไม่เป็นอันเรียนหนังสือ
        4.โทรศัพท์มือถือทำให้เกิดอันตราย จากการวิจัยจากมหาวิทยาลัยลุนด์ของสวีเดนกล่าวว่า การที่สมองได้รับคลื่นไมโครเวฟจากโทรศัพท์มือถือนั้นเป็น การทดลองทางชีวภาพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่มีของมนุษย์และเขากำลังวิตกว่าเมื่อเทคโนโลยีไร้สายขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ ผู้คนอาจ จมอยู่ในทะเลคลื่นไมโครเวฟ

-พฤติกรรมแย่ๆจากการใช้มือถือนานๆ
     เห่อตามแฟชั่น
นิยมเปลี่ยนมือถือไปตามแฟชั่นเพื่อให้อินเทรนด์  ดูทันสมัย และบ้างก็เปลี่ยนเพื่อให้ดูเป็นคนมีระดับ มีฐานะ  ทั้งที่ บางคนแทบจะไม่ได้ใช้เพิ่มเติม จากเดิมเลยก็ตาม

    ทรัพย์จาง จากการเห่อตามแฟชั่น
หลายคนต้องหาเงินเพิ่ม เพื่อหาซื้อมือถือรุ่นใหม่อยู่ตลอดเวลา  จึงเกิดสภาวะทรัพย์จาง 

    ขาดกาลเทศะ และมารยาท
จากการที่เราไม่ค่อยอดทนรอ ที่ว่านี่เอง  ทำให้หลายๆ ครั้ง เมื่อนึกอะไรขึ้นมาได้ ก็จะกดโทรศัพท์ไปหาบุคคลที่เราอยากจะพูด อยากถามในทันที ซึ่งบางครั้ง อาจจะทำให้เขาไม่พอใจ หรือโกรธที่เราไปขัดจังหวะการกิน การนอน การพักผ่อน ฯลฯ  ของเขาอยู่ก็ได้ 

    ขาดมนุษย์สัมพันธ์
วัยรุ่นอยู่บ้าน แทนที่จะพูดคุยกับพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือทำร่วมกับญาติพี่น้อง  ก็มักรีบหนีขึ้นห้องโทรไปหาเพื่อน และใช้เวลาเป็นชั่วโมงๆ  พอนานๆ ไปความสัมพันธ์ในบ้านก็ห่างเหิน  โดยไม่สนใจผู้อื่นอีกต่อไป  

ที่มา: https://krupenka.wordpress.com/2013/01/22/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97/

การใช้เทคโนโลยีกับการดำเนินชีวิตของวัยรุ่น


การใช้เทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของวัยรุ่นอย่างไร
        ณ โลกปัจจุบัน ที่มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ไม่มีที่สิ้นสุด ได้ก่อเกิดนวัตกรรมที่สร้างความสะดวกสบายให้แก่มนุษย์ในหลายๆด้าน ไปมาหาสู้กันด้วยยานพาหนะ จัดส่งเอกสารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ติดต่อค้าขายด้วยเครื่องคมนาคมและเส้นทางคมนาคมที่ทันสมัย ติดต่อสื่อสารกันด้วยเครื่องมือสื่อสาร เรียกว่าเทคโนโลยีเหล่านี้กลายเป็นปัจจัยหนึ่งในการอยู่รอดของมนุษย์ มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตในทุกๆด้าน โครงงานนี้จัดทำเพื่อการศึกษา เรื่องอิทธิพลของเทคโนโลยีปัจจุบัน โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มวัยรุ่นในปัจจุบัน ซึ่งเทคโนโลยีที่น่าจะมีอิทธิพลต่อวัยรุ่นมากในยุคปัจจุบัน คือ เครื่องมือสื่อสารอย่างโทรศัพท์มือถือ ค่ายโทรศัพท์มือถือแต่ละค่ายต่างแข่งขันกันนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใส่ในโทรศัพท์มือถือของตน เพื่อกระตุ้นความอยากซื้อให้ผู้เสพเทคโนโลยีสนใจ นอกจากโทรศัพท์มือถือจะเป็นเครื่องสื่อสารแล้วยังสร้างความบันเทิงในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะ ดูหนัง ฟังเพลง เชื่อมอินเทอร์เน็ต เล่นเกมส์ ถ่ายรูป ดูนาฬิกา และอีกมากมาย ผู้เสพเทคโนโลยีกลุ่มใหญ่ก็คือวัยรุ่น ยิ่งมีฟังก์ชันเยอะ รูปลักษณ์สวยดูล้ำสมัย พร้อมด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆราคาแพงๆ โทรศัพท์กลายเป็นเครื่องแสดงฐานะด้วยราคาค่าเทคโนโลยีที่สูงขึ้น โทรศัพท์กลายเป็นเครื่องสร้างความเสื่อมในสังคมเพราะการใช้เทคโนโลยี ที่ไม่ถูกต้องไม่สมควร แล้วคุณคิดว่าคนส่วนใหญ่ เห็นว่าโทรศัพท์คืออะไร
พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ที่มีต่อวัยรุ่น
      -พฤติกรรมด้านบวก
       มือถือกลายเป็นอีกปัจจัยหนึ่งของวัยรุ่น เพราะมือถือก็มีข้อดีอยู่ไม่น้อย เป็นทั้งเครื่องมือสื่อสารที่ย่นทั้งระยะทางและระยะเวลาระหว่างกัน เทคโนโลยีการสื่อสารผ่านมือถือนั้นสร้างความสะดวกสบายให้กับวัยรุ่นได้อย่างมาก บางครั้งที่มีอุบัติเหตุ หรือต้องการความช่วยเหลือด่วนมือถือก็จะมีประโยชน์มากในช่วงเวลานั้น หรือบางทีมือถือยังทำหน้าที่สร้าง และกระชับความสัมพันธ์ของคนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นญาติพี่น้อง หรือกลุ่มเพื่อน ถึงแม้จะอยู่ห่างไกลกันมากแต่ก็เชื่อมความสัมพันธ์กันได้ด้วยมือถือ ยิ่งปัจจุบันนี้มือถือมีเทคโนโลยีก้าวหน้ากว่าเดิมมาก ซึ่งนอกจากจะดูหนังฟังเพลงแล้วยังสามารถใช้อินเทอร์เน็ต และยังสามารถเล่นได้เกือบทุกที่ทุกเวลา ยิ่งทำให้การติดต่อสื่อสารง่ายขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตามการใช้โทรศัพท์มือถือให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้นต้องคำนึงถึงความจำเป็น ใช้แต่พอเพียงเท่านั้นเพื่อไม่ให้ตกเป็นทาสของมือถือ พฤติกรรมด้านลบจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ(สวช.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) พบว่า ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือ กำลังจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของคนยุคโลกาภิวัตน์ที่จะขาดไม่ได้ จนกลายเป็นอวัยวะส่วนที่ 33 โดยเฉพาะในเด็กวัยรุ่นซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยง ให้ ข้อเสียหากผู้ใช้ นำไปใช้ในทางที่ผิดหรือใช้ไม่เป็นทำให้เกิดโรคใหม่ๆ ตามมาหลาย โรคที่เกิดจากการใช้โทรศัพท์มือถือที่มีผลกระทบ ในเชิงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตคนไทย ได้แก่

        1.โรคเห่อตามแฟชั่น โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นนิยมเปลี่ยนมือถือตามแฟชั่นเพื่อให้
อินเทรนด์ ดูทันสมัย ไม่ตกรุ่นทัดเทียมเพื่อน ดังนั้นมือถือจึงกลายเป็นเครื่องประดับที่บ่งบอกสถานภาพทางสังคมอีกทางหนึ่ง

        2.โรคทรัพย์จาง ซึ่งหลายคนต้องหาเงินเพื่อมาซื้อมือถือรุ่นใหม่ ทั้งนี้บางคนไม่มีเงิน
แต่รสนิยมสูง จึงเกิดสภาวะทรัพย์จางต้องไปกู้ยืมหนี้ยืมสินมาซื้อมือถือ เป็นต้น

        3.โรคขาดความอดทนและใจร้อน เนื่องจากคุณสมบัติของโทรศัพท์มือถือกดปุ๊บต้อง ติดปั๊บ ทำให้หลายคนกลายเป็นคนไม่มีความอดทน แม้แต่เรื่องเล็กๆ เช่น นัดเพื่อนไว้ช้าแค่ 5 นาที ต้องโทรตาม จึงกลายเป็นคนเร่งรีบ ร้อนรน และไม่รอบคอบ

        4.โรคขาดกาลเทศะและไร้มารยาท ซึ่งการโทรศัพท์ไปหาบุคคลที่เราอยากจะพูด ทุกเวลา โดยไม่ดูเวลาหรือกาลเทศะที่ควรโทร บางคนโทรขายประกัน ขายเครื่องกรองน้ำชวนสมัครบัตรเครดิตทั้งๆที่ไม่รู้จักกัน ทำให้ผู้รับสายเกิดความรำคาญใจ

        5.โรคขาดมนุษยสัมพันธ์ คนส่วนใหญ่จะใช้มือถือพูดคุยกับญาติสนิท ขาดความใส่ใจ ที่จะสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น หลบมุมโทรไปคุยกับเพื่อนแทนที่จะพูดคุยกับพ่อแม่ผู้ปกครองหรือทำกิจกรรมที่ทำให้ความสัมพันธ์ในบ้านห่างเหิน ซึ่งจะเกิดอาการเฉาหรือเหงาหงอย กลายเป็นคนแยกตัวออกจากสังคมมีโลกของตัวเองและเป็นโรคติดโทรศัพท์ในที่สุด
        6.โรคไม่จริงใจ เนื่องจากการพูดคุยทางโทรศัพท์ไม่ต้องเห็นหน้าตา ท่าทาง สายตาและ ปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อกัน ทำให้หลายคนสามารถใช้คำหวานหลอกลวง หรือพูดโกหกผู้อื่น หรือนิยมส่ง sms ไปยังอีกฝ่าย ทำเสมือนรักใคร่ ผูกพันหรือห่วงใย

        วัตถุประสงค์ของการใช้โทรศัพท์ วัตถุประสงค์ของการใช้โทรศัพท์มือถือกับวัยรุ่นในปัจจุบันไม่ใช่เพียงเครื่องมือสื่อสารเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จะเห็นได้ว่าบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือต่างๆในตอนนี้ต่างก็แข่งขันกัน ทำลูกเล่นใหม่ๆขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า เพราะในยุคที่มีการแข่งขันสูงการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้กับโทรศัพท์มือถือนั้นยิ่งทำให้มีความน่าสนใจมากขึ้น นอกจากจะโทรออกหรือรับสายได้แล้วยังสามารถทำอย่างอื่นได้ เช่นถ่ายภาพ ถ่ายวีดีโอ ฟังเพลง เล่นเกม รวมถึงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและรับส่งอีเมล์ ซึ่งเป็นการก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการสื่อสารที่ไร้พรมแดนจากผลสำรวจของกรุงเทพโพลล์ โดยเก็บข้อมูลจากวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานครที่ใช้โทรศัพท์มือถือ จำนวนทั้งสิ้น 1,700 คน เป็นเพศชายร้อยละ 48.8 และเพศหญิงร้อยละ 51.2 สรุปผลว่า มีดังนี้
-พูดคุยและส่ง SMS ร้อยละ 57.7
-ฟังเพลง ฟังวิทยุ ร้อยละ 20.3
-ถ่ายรูป ถ่ายคลิปวีดีโอ ร้อยละ 11.6
-เล่นเกม ร้อยละ 5.6
-เล่นอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 4.8
ผลกระทบจากการใช้โทรศัพท์

  -ข้อดีจากการใช้โทรศัพท์มือถือ
1.ช่วยให้การติดต่อสื่อสารมีความสะดวกรวดเร็ว
2.สะดวกต่อการทำงานทางธุรกิจต่างๆ
3.ทำให้เกิดความเพลิดเพลินจากการใช้โทรศัพท์ฟังเพลง หรือเล่นเกม
4.ทำให้ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการที่จะต้องเดินทางไปติดต่อธุระด้วยตนเอง 

  -ข้อเสียจากการใช้โทรศัพท์มือถือ
1.การใช้โทรศัพท์มือถืออาจทำให้มีอาการปวดหัวได้ เพราะหลักการรับ-ส่งสัญญาณของโทรศัพท์มือถือ คือ การแปลงเสียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้า ก่อนส่งออกไปในอากาศ โดยอาศัยคลื่นพา เช่น คลื่นไมโครเวฟ แล้วไปตามสถานีเครือข่าย ที่มีทั่วประเทศไทย ซึ่งปกติเรานำคลื่นไมโครเวฟมาใช้ในการอุ่นอาหาร เนื่องจากคลื่นถูกดูดซึมจากส่วนประกอบที่มีน้ำได้ดี และถ้ามีความเข้มสูงพอจะเกิดเป็นความร้อน ทำให้อาหารนั้นร้อนขึ้นหรือสุกได้ ถึงแม้คลื่นไมโครเวฟ ที่กระจายอยู่ในอากาศยังไม่มีความเข้มถึงขีดอันตรายที่จะเกิดความร้อนได้ แต่เสาอากาศของโทรศัพท์มือถือได้ดึงดูดคลื่นไมโครเวฟเข้าสู่เครื่องโทรศัพท์ ทำให้บริเวณที่อยู่ใกล้เสาอากาศ คือ ศีรษะจะได้รับคลื่นไมโครเวฟในปริมาณมากจนอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดศีรษะได้

2.การโทรไม่ติด หรือหลุดบ่อยทำให้อารมณ์เสีย หงุดหงิด สุขภาพจิตเสื่อมลง กล้ามเนื้อคอ หัวไหล่มักจะเกร็งเนื่องจากต้องถือโทรศัพท์อยู่ตลอดเวลา และบางครั้งยังต้องพยายามเอียงคอ และใช้มือดันโทรศัพท์ให้แนบติดกับใบหูอยู่ตลอดเวลา การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อคอ เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปวดศีรษะ เพราะเมื่อกล้ามเนื้อหดตัวตลอดเวลา หลอดเลือดจะส่งเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ การแก้ไขอาจต้องใช้โทรศัพท์ที่มีขนาดเบา อย่าคุยโทรศัพท์นานเกินควร และถ้าอยู่ในรถอาจผ่านขยายเครื่องขยายเสียง และใช้ไมโครโฟนในการสนทนา ซึ่งในกรณีนี้นอกจากจะไม่เป็นผลเสีย ต่อสุขภาพแล้ว ยังลดอุบัติเหตุบนท้องถนนลงได้

3.ถ่านไฟที่ใช้กับโทรศัพท์มือถือประกอบด้วยสารอันตรายหลายชนิด ไส้แบตเตอรี่ในโทรศัพท์มือถือที่ท่านต้องเปลี่ยนตามเวลาทุก 12-18 เดือนนั้น ไส้แบตเตอรี่ที่ใช้ในถ่านโทรศัพท์มือถือมี 2 ชนิด คือ ชนิด NICAD (Nickel Cadmium Cells) และ Hydride (Nickel Metal Hydride Cells) สารประกอบที่ใช้ในถ่านชนิดแรกคือ NICAD จัดเป็นขยะอันตรายที่จะก่อโทษกับสุขภาพของคน และเกิดมลภาวะในสิ่งแวดล้อมได้ เนื่องจากขั้วลบของถ่านชนิดนี้เป็น แคดเมียมไฮดรอกไซด์ เมื่อบรรจุไฟแล้วจะกลายสภาพเป็นแคดเมียม ซึ่งเป็นสารก่อพิษในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก แคดเมียมเป็นโลหะหนัก มีอยู่ในธรรมชาติจำนวนน้อย หากได้รับเข้าไปทีละน้อยจากการหายใจ กินหรือดื่ม ก็จะเกิดพิษเรื้อรังทีละน้อย ด้วยอาการสำคัญคือ ไตอักเสบ ไตวาย ข้อเสื่อม ถุงลมปอดโป่งพอง ระบบหายใจผิดปกติ และทำให้เกิดมะเร็งในอวัยวะหลายชนิด ที่น่ากลัวคือ แคดเมียมที่ ถูกทิ้งจากการอุตสาหกรรม หรือแบตเตอรี่จะปนเปื้อนเข้าในดิน น้ำ ซึ่งสัตว์และพืชจะรับเข้าไปในตัว เมื่อคนกินสัตว์หรือพืชเข้าไป ก็จะได้รับแคดเมียมสะสมเข้าไปในปริมาณที่เกิดพิษได้ง่าย ขณะนี้ตัวเลขที่ได้จากการจดทะเบียนมือถือทั่วประเทศมีจำนวนมาก และมีจำนวนไม่น้อยที่ใช้แบตเตอรี่แบบ NICAD ซึ่งแต่ละก้อนจะมีอายุการใช้งานประมาณ 1 ปี ดังนั้นจะมีแบตเตอรี่ NICAD เป็นพิษทิ้งจำนวนหลายล้านก้อนต่อปี ขณะนี้มีประชาชนที่รู้ถึงพิษของขยะอันตราย และพยายามแยกขยะ แต่ก็ไม่สามารถที่จะหาที่ทิ้งที่ถูกต้อง หรือหาหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงได้

4.การขับรถ การใช้โทรศัพท์มือถือทำให้มีอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น

5.กล้องโทรศัพท์มือถือ ในหลายๆครั้งพบว่ากล้องของโทรศัพท์มือถือถูกนำมาใช้ในทางเสีย เช่น คลิปวิดีโอแอบถ่าย รูปภาพแอบถ่าย เป็นต้น

6.ทำให้เกิดอาชญากรรมอันถึงแก่ชีวิตได้ หากโทรศัพท์สะดุดเข้าตาโจร
7.ทำให้เป็นภาระทางการเงิน ต้องหาเงินมาจ่ายค่าโทรอยุ่ตลอด

8.การรบกวนของคลื่นวิทยุ คลื่นจะรบกวนการทำงานของอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ Pacemaker, defibrillator และอาจจะมีผลต่อการควบคุมการบิน

9.สำหรับผู้ที่ใช้โทรศัพท์เป็นประจำ อาจมีอาการหูตึง เนื่องจากเสียงโทรศัพท์ไม่ชัดเจน มีเสียงรบกวนอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่ได้ใช้โทรศัพท์ในตำแหน่งที่รับส่งคลื่นได้สะดวก บุคลิกภาพของผู้ใช้โทรศัพท์ต้องเสียไป เนื่องจากต้องพะวักพะวงกับการหาตำแหน่งที่รับฟังได้ชัดเจน และยังต้องตะโกนพูดอยู่คนเดียว

บทสรุป
        โทรศัพท์เป็นเครื่องมือสื่อสารที่ช่วยร่นระยะเวลา ระยะทางในการสื่อสารของคนยุคปัจจุบัน เป็นเทคโนโลยีที่สร้างประโยชน์ได้มากต่อการพัฒนาความก้าวหน้าในด้านต่างๆของโลก ซึ่งปัจจุบันโทรศัพท์มือถือมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างมาก ด้วยความบันเทิงหลากหลายที่เป็นจุดขายดึงดูดวัยรุ่นยุคปัจจุบันที่ดำเนินชีวิตอยู่กับเทคโนโลยี ทำให้เครื่องมือสื่อสารชนิดนี้มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต วัยรุ่นมักนำความสามารถทุกอย่างที่โทรศัพท์มือถือทำได้มาประยุกต์ในทางที่เสื่อมมากกว่าทางสร้างสรรค์ โทรศัพท์มือถือมีอิทธิพลต่ออารมณ์ให้เป็นคนขาดความอดทน ใจร้อน ขาดความรอบคอบ อารมณ์รุนแรง มีอิทธิพลในการใช้เงินของวัยรุ่น เนื่องจากวัยรุ่นมีความต้องการที่จะเปลี่ยนโทรศัพท์ใหม่ให้อินเทรนด์ อยู่เสมอ มีอิทธิพลต่อการศึกษาและการพัฒนาความรู้ นอกจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ทำลายเซลล์สมองให้ด้อยพัฒนาแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพและลดสมาธิในการเรียน ด้านการแก้ไขพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ของวัยรุ่น คือวัยรุ่นควรตระหนักถึงข้อดีข้อเสียให้มาก ปรับเปลี่ยนการใช้โทรศัพท์ให้เหมาะสม เพราะกลุ่มวัยรุ่นเป็นกลุ่มประเมินสำคัญที่บ่งบอกถึงความก้าวหน้าของประเทศได้