การติดต่อสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นในการใช้ชีวิตประจำวัน
แต่บางครั้งอะไรที่มากเกินไปก็ไม่ใช่เรื่องดี จากผลการสำรวจพบว่าประมาณครึ่งหนึ่งของคนหนุ่มสาวมีการติดต่อสื่อสารกันอย่างน้อย
10
ชั่วโมงต่อวัน และ1 ใน 4 เป็นพวกที่ไวต่อการสื่อสารในทุกๆ ทาง ไม่ว่าจะเป็น เช็คอีเมล์, ส่งข้อความ, แชท ฯลฯ
โดยพวกเขาหรือเธอจะทราบทุกการติดต่อสื่อสารภายใน 5 นาทีหลังจากตื่นนอน
การทำแบบนี้หลายคนอาจสงสัยว่ามันมีผลต่อความเครียดบ้างหรือไม่ ?
ผลการศึกษาพบว่าเมื่อห้ามคนหนุ่มสาวไม่ให้ใช้เทคโนโลยีสื่อสารเช่นโทรศัพท์หรือสมาร์ทโฟนเพียงระยะเวลา
24
ชั่วโมง
คนส่วนใหญ่ในกลุ่มนั้นจะเริ่มแสดงออกทางร่างกายและเกิดความเศร้าซึมขึ้นโดยไม่รู้ตัว!
ฟังดูอาจเป็นเรื่องตลกร้ายของบางคน เพราะไม่ทราบว่าตัวเองกำลัง "เสพติด"
โทรศัพท์หรือสมาร์ทโฟน
ซึ่งการเสพติดเทคโนโลยีอาจกลายเป็นการเพิ่มความเครียดโดยไม่ได้ตั้งใจ
6 อาการที่บ่งชี้ว่าสมาร์ทโฟนอาจจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คุณเครียด
1. รู้สึกว่าต้องตอบ..โดยด่วน หรือโดยทันที
บางคนที่ทำงานหรือเรียนอยู่
มักจะวางโทรศัพท์ไว้ใกล้ตัว และแม้ขณะที่กำลังทำอะไรบางอย่าง
หากมีเสียงการแจ้งเตือนดังขึ้น
คุณจะทิ้งทุกอย่างที่ทำอยู่และหันไปสนใจกับโทรศัพท์ทันทีแม้ไม่ได้ตั้งใจก็ตาม
การวิจัยพบว่าการกระทำดังกล่าวมีส่วนไปกระตุ้นหัวใจให้สูบฉีดแรงขึ้นแบบไม่ตั้งใจ
วิธีการแก้ไขทำได้ไม่ยาก เพียงแค่ใช้สติและเวลาสักครู่ในการทบทวนและเตือนตัวเองว่ามันอาจจะไม่ใช่เรื่องด่วนอะไรขนาดนั้น
และจากการศึกษาพบว่าการวางโทรศัพท์ห่างจากเตียงนอนสักหน่อย
หรือการเก็บโทรศัพท์ไว้ในกระเป๋าสะพายแทนกระเป๋ากางเกงก็ช่วยลดอาการเสพติดโทรศัพท์ได้
2. คิดไปเองว่าโทรศัพท์ดังหรือมีเสียงเตือน/สั่น
เมื่อคุณรู้สึกว่าโทรศัพท์ที่ใส่ในกระเป๋ากางเกงสั่นหรือดังขึ้น
แต่พอหยิบออกมาดู ความจริงกลับไม่มีการแจ้งเตือนใดๆ เลย
อาการแบบนี้ฟ้องว่าคุณกำลังเสพติดเทคโนโลยี ผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Indiana
University-Purdue University Fort Wayne พบว่าร้อยละ 89 ของวัยรุ่นเคยเจอประสบการณ์แบบนี้กับตัวเอง
3. กลัวถูกเพื่อนลืม (FOMO หรือ Fear to miss
out)
เมื่อโพสต์ภาพหรือสถานะบน Facebook
แล้วหลังจากนั้นไม่กี่นาทีก็เช็คว่ามีใครเห็นหรือกดไลค์บ้าง
แต่กลับไม่มีคนกดไลค์ให้เลย ถ้าคุณเป็นคนที่กังวลกับเรื่องแนวๆ
นี้แล้วละก็แสดงว่านี่คืออาการของโรค FOMO (Fear to miss out) หรืออาการกลัวถูกทิ้งหรือถูกลืมโดยเพื่อน สังคม โซเชียลเน็ตเวิร์คทั้งหลาย
ซึ่งวิธีการรักษาคือให้ลดการใช้ชีวิตออนไลน์และหันมาใส่ใจกับสิ่งรอบตัวและสังคมแห่งความจริงมากขึ้น
การนั่งคุย ทานข้าว ออกกำลังกายกับครอบครัวหรือเพื่อนๆ เป็นวิธีรักษาโรค FOMO
ได้เป็นอย่างดี
4. เล่นโทรศัพท์โดยไม่สนใจคนรอบข้างพูด
ในการทานอาหารร่วมกับเพื่อนหรือครอบครัว
ถ้าคุณเล่นโทรศัพท์มากจนไม่ทราบว่าพวกเขาคุยอะไรกัน
หรือบางทีก็เงยหน้าแล้วพยักหน้ารับเพื่อบอกว่าคุณก็ฟังอยู่
แล้วก็กลับไปใส่ใจกับหน้าจอโทรศัพท์ต่อ
พฤติกรรมแบบนี้ไม่ดีทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต นอกจากจะทำให้กระเพาะอาหารทำงานแย่ลงอาจทำให้สรีระส่วนหลังโค้งงอโดยไม่ตั้งใจ
ที่สำคัญยังทำให้สูญเสียบรรยากาศในการทานอาหาร
บางคนถึงขั้นเลิกกับแฟนก็มีมาให้เห็นแล้ว
5. รู้สึกร้อนรุ่มกังวลเมื่อห่างจากโทรศัพท์
หากคุณรู้สึกกระสับกระส่ายเมื่อห่างจากโทรศัพท์และพยายามจะนำโทรศัพท์วางให้อยู่ใกล้มือตลอดเวลา
แม้กระทั่งยามนอนก็วางใต้หมอน, หยิบติดมือไปด้วยแม้เข้าห้องน้ำ,
วางบนโต๊ะทานข้าว เหล่านี้เป็นต้น วิธีแก้คือเปลี่ยนนิสัยการใช้งาน
และหันไปออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมผ่อนคลายจิตใจบ้างเพื่อไม่ให้กังวลเรื่องโทรศัพท์จนเกินไป
6. ผลการเรียนดรอปลง
ย้อนไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว
นักเรียนทั้งหลายอาจจะแหกกฏได้มากที่สุดคือการแอบคุยโทรศัพท์ในห้องเรียน
แต่มาวันนี้เมื่อมองไปแทบทุกห้องเรียนในเมือง มีนักเรียนนักศึกษาที่ใช้สมาร์ทโฟน iPhone,
Samsung Galaxy, HTC , Sony, .... และใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์คเอย
แชทเอย ฯลฯ ทำให้ไขว้เขวกันไปข้างหนึ่ง
แม้จะมีการศึกษาที่แย้งว่าการไม่มีโทรศัพท์มือถือจะส่งผลเสียต่อการเรียนรู้ก็ตาม
แต่มองในมุมกลับกัน
เราจะฟังครูหรืออาจารย์อธิบายเนื้อหาได้เข้าใจถี่ถ้วนอย่างไรหากไม่ตั้งใจฟัง
คำแนะนำในการแก้ปัญหาข้อนี้ง่ายมากคือเก็บโทรศัพท์ใส่กระเป๋าและทุ่มเทให้กับการเรียน
โทรศัพท์สามารถเล่นในเวลาอื่นก็ได้ที่ไม่ใช่ห้องเรียน
คุณมีอาการใน 6 ข้อนี้บ้างหรือเปล่า
แล้วคิดจะหาทางแก้หรือยัง อย่าให้เทคโนโลยีพาคุณไปผิดทาง
เพราะว่าเวลาไม่สามารถย้อนกลับมาได้ บางทีการรู้ตัววันนี้ ยังดีกว่ารู้ตัวช้า
เมื่อวันที่คนรอบข้างไม่สนใจคุณ เพราะว่าคุณเองเอาแต่ "เล่นมือถือ ไม่สนใจใคร" อยู่อย่างนั้น...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น