ติดสมาร์ทโฟน มากเกินไปไหม เช็กง่าย ๆ ด้วย 2 ท่าสุดง่าย
ถ้ามีอาการเหล่านี้บอกเลยระวังให้ดี
ทุกวันนี้เชื่อว่าคงมีคนจำนวนไม่น้อยที่มีสมาร์ทโฟนเสมือนเป็นอวัยวะที่ 33 ไม่ว่าจะไปไหนมาไหน ถ้าไม่มีสมาร์ทโฟนติดไปด้วยก็รู้สึกแปลก ๆ บางคนนี่ถึงกับกระวนกระวายเลยก็ว่าได้ แต่พอถามว่าตัวเองติดสมาร์ทโฟนไหมก็มักจะบอกไม่ได้ติด อย่าเพิ่งชะล่าใจว่าตัวเองไม่ใช่คนจำพวก สมาร์ทโฟน แอดดิก (Smartphone Addict) นะ ถ้ายังไม่ได้ลองทดสอบตัวเองด้วยท่าทางเหล่านี้ที่เราหยิบมาฝากกัน ซึ่งบอกได้คำเดียวเลยว่า แค่ทำตามที่ว่านี้ก็จะรู้ได้ทันทีว่าคุณน่ะใช่คนติดสมาร์ทโฟนหรือไม่ รีบทำตามเลยจะได้รู้กันครับ
ท่าที่ 1
ทุกวันนี้เชื่อว่าคงมีคนจำนวนไม่น้อยที่มีสมาร์ทโฟนเสมือนเป็นอวัยวะที่ 33 ไม่ว่าจะไปไหนมาไหน ถ้าไม่มีสมาร์ทโฟนติดไปด้วยก็รู้สึกแปลก ๆ บางคนนี่ถึงกับกระวนกระวายเลยก็ว่าได้ แต่พอถามว่าตัวเองติดสมาร์ทโฟนไหมก็มักจะบอกไม่ได้ติด อย่าเพิ่งชะล่าใจว่าตัวเองไม่ใช่คนจำพวก สมาร์ทโฟน แอดดิก (Smartphone Addict) นะ ถ้ายังไม่ได้ลองทดสอบตัวเองด้วยท่าทางเหล่านี้ที่เราหยิบมาฝากกัน ซึ่งบอกได้คำเดียวเลยว่า แค่ทำตามที่ว่านี้ก็จะรู้ได้ทันทีว่าคุณน่ะใช่คนติดสมาร์ทโฟนหรือไม่ รีบทำตามเลยจะได้รู้กันครับ
ท่าที่ 1
ท่านี้เป็นท่าง่าย ๆ ที่เราแค่เพียงสังเกตมือของเราก็จะทราบได้ทันทีว่าเราเป็นคนติดสมาร์ทโฟนหรือเปล่า ซึ่งอาการนี้เรียกว่า Smartphone Pinky โดยมีวิธีสังเกตง่าย ๆ คือ กางมือออก ถ้าหากนิ้วก้อยของคุณมีลักษณะงอที่บริเวณข้อที่ 2 ของนิ้วก้อย แปลว่าคุณน่ะเป็นคนติดสมาร์ทโฟนแล้วล่ะ เพราะอาการงอของนิ้วก้อยแบบนี้ เป็นอาการที่เกิดจากการที่เราถือสมาร์ทโฟนเป็นเวลานาน โดยปกติแล้วเมื่อเราถือโทรศัพท์มือถือก็จะต้องเอานิ้วก้อยรองที่ใต้โทรศัพท์ และเมื่อนิ้วก้อยต้องรองรับน้ำหนักมาก ๆ ก็อาจจะทำให้เกิดอาการงอของนิ้วได้ค่ะ ซึ่งในเริ่มแรกจะไม่มีอาการปวดหรือเจ็บ แต่ถ้าทิ้งเอาไว้นาน ๆ คุณหมอแมว เจ้าของเพจเฟซบุ๊กความรู้สนุก ๆ แบบหมอแมว ก็เตือนว่าจะมีอาการแบบนี้ครับ
- มีอาการเจ็บที่นิ้วก้อยด้านในที่บริเวณข้อสุดท้าย และถ้าหากกดมาก ๆ จะทำให้นิ้วดูเบี้ยวเล็กน้อย
- เกิดอาการปวดล้าข้อนิ้วก้อย เวลากำเหยียดนิ้วก้อยจะรู้สึกเจ็บ
- หากมีอาการรุนแรงอาจจะเกิดอาการชาที่ปลายนิ้วก้อยด้านใน เนื่องจากไปโดนบริเวณที่เกิดการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็น
ทั้งนี้ถ้าหากมีอาการเหล่านี้เป็นเวลานานก็ควรไปพบแพทย์ดีกว่าครับ เพราะอาจจะไม่ใช่แค่อาการ Smartphone Pinky แต่อาจจะมีอาการอักเสบของปลายประสาทเรื้อรังจนอาจเป็นอันตรายได้ครับ
ท่าที่ 2
วิธีการทดสอบนี้มีชื่อเรียกว่า Eichoff’s Test หรือ Finkelstein's test เป็นวิธีทดสอบว่าเป็น
โรคเดอ เกอร์แวง (De Quervain's Disease) หรือปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ หรือไม่
อาการของโรคนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีการใช้นิ้วโป้งมากจนเกินไป
อย่างเช่นการเล่นโทรศัพท์สมาร์ทโฟนติดต่อกันนาน ๆ เป็นประจำ
จนทำให้เกิดการปวดอักเสบบริเวณข้อมือ วิธีทดสอบมีดังนี้ครับ
- กำมือโดยให้ทั้ง 4 นิ้วกำนิ้วโป้งไว้ให้แน่น
- งอข้อมือลงด้านล่างจนบริเวณตั้งแต่ข้อมือจนถึงข้อนิ้วโป้งตึง
- หากมีอาการปวดนั่นแปลว่าคุณมีอาการของโรค De Quervain’s Disease
อาการของโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับมือทั้ง 2 ข้าง แต่อาการเจ็บปวดนี้จะขึ้นอยู่กับว่าใช้มือข้างใดถือโทรศัพท์มากกว่ากันค่ะ
หากรู้ว่าตัวเองมีอาการปวด อันเป็นจุดเริ่มต้นของอาการปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบแล้ว ต้องเริ่มบริหารมือตัวเองเดี๋ยวนี้เลย ซึ่งเรามีท่าง่าย ๆ มาบอกกัน
1. แตะปลายนิ้วหัวแม่มือกับปลายนิ้วชี้ค้างไว้ 5 วินาที แล้วจึงใช้นิ้วหัวแม่มือสลับแตะนิ้วก้อยค้างไว้อีก 5 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง
2. ดัดข้อมือ โดยพยายามงอข้อมือตัวเองลงให้มากที่สุด ค้างไว้ 5 วินาที จากนั้นให้ดัดข้อมือกระดกขึ้นให้มากที่สุด ค้างไว้อีก 5 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง
3. หงายมือขึ้น แล้วกำมือ จากนั้นค่อย ๆ กระดกข้อมือขึ้น ค้างไว้ 5 วินาที แล้วค่อยกลับไปตำแหน่งเดิม ทำซ้ำ 10 ครั้ง
4. กระดกข้อมือขึ้น-ลง สลับกัน 10 ครั้ง (สามารถถือวัตถุที่มีน้ำหนักมากไว้ในมือด้วยได้)
5. กระดกข้อมือเอียงไปทางด้านข้าง ทำขึ้น-ลง สลับกัน 10 ครั้ง (สามารถถือวัตถุที่มีน้ำหนักมากไว้ในมือด้วยได้)
6. นำลูกบอลยางมาบีบ โดยบีบให้แน่นที่สุด ค้างไว้ 5 วินาที จากนั้นคลายออก แล้วบีบใหม่ ทำซ้ำ 10 ครั้ง
ได้วิธีสังเกตอาการติดโทรศัพท์แบบง่าย ๆ ไปแล้ว ถ้ามีอาการเหล่านี้ก็อย่านิ่งนอนใจเลยนะ เพราะอาการเหล่านี้ที่เห็นว่าเล็ก ๆ น้อย ๆ อาจจะให้ผลตามมาที่คาดไม่ถึงก็ได้ ยังไงสมาร์ทโฟนก็ไม่น่าจะสำคัญกว่าสุขภาพของตัวเองใช่ไหมล่ะครับ
- กำมือโดยให้ทั้ง 4 นิ้วกำนิ้วโป้งไว้ให้แน่น
- งอข้อมือลงด้านล่างจนบริเวณตั้งแต่ข้อมือจนถึงข้อนิ้วโป้งตึง
- หากมีอาการปวดนั่นแปลว่าคุณมีอาการของโรค De Quervain’s Disease
อาการของโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับมือทั้ง 2 ข้าง แต่อาการเจ็บปวดนี้จะขึ้นอยู่กับว่าใช้มือข้างใดถือโทรศัพท์มากกว่ากันค่ะ
หากรู้ว่าตัวเองมีอาการปวด อันเป็นจุดเริ่มต้นของอาการปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบแล้ว ต้องเริ่มบริหารมือตัวเองเดี๋ยวนี้เลย ซึ่งเรามีท่าง่าย ๆ มาบอกกัน
1. แตะปลายนิ้วหัวแม่มือกับปลายนิ้วชี้ค้างไว้ 5 วินาที แล้วจึงใช้นิ้วหัวแม่มือสลับแตะนิ้วก้อยค้างไว้อีก 5 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง
2. ดัดข้อมือ โดยพยายามงอข้อมือตัวเองลงให้มากที่สุด ค้างไว้ 5 วินาที จากนั้นให้ดัดข้อมือกระดกขึ้นให้มากที่สุด ค้างไว้อีก 5 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง
3. หงายมือขึ้น แล้วกำมือ จากนั้นค่อย ๆ กระดกข้อมือขึ้น ค้างไว้ 5 วินาที แล้วค่อยกลับไปตำแหน่งเดิม ทำซ้ำ 10 ครั้ง
4. กระดกข้อมือขึ้น-ลง สลับกัน 10 ครั้ง (สามารถถือวัตถุที่มีน้ำหนักมากไว้ในมือด้วยได้)
5. กระดกข้อมือเอียงไปทางด้านข้าง ทำขึ้น-ลง สลับกัน 10 ครั้ง (สามารถถือวัตถุที่มีน้ำหนักมากไว้ในมือด้วยได้)
6. นำลูกบอลยางมาบีบ โดยบีบให้แน่นที่สุด ค้างไว้ 5 วินาที จากนั้นคลายออก แล้วบีบใหม่ ทำซ้ำ 10 ครั้ง
ได้วิธีสังเกตอาการติดโทรศัพท์แบบง่าย ๆ ไปแล้ว ถ้ามีอาการเหล่านี้ก็อย่านิ่งนอนใจเลยนะ เพราะอาการเหล่านี้ที่เห็นว่าเล็ก ๆ น้อย ๆ อาจจะให้ผลตามมาที่คาดไม่ถึงก็ได้ ยังไงสมาร์ทโฟนก็ไม่น่าจะสำคัญกว่าสุขภาพของตัวเองใช่ไหมล่ะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น